(1) เรื่องสืบสานบรรพบุรุษ ถ้าคนในชาติยังไม่สำนึกว่า ความเจริญ
ก้าวหน้าในปัจจุบันนี้ เกิดจากบรรพบุรุษช่วยกันสร้างสมเป็นมรดกตกทอดมา และยังขาดความรู้ความสนใจเรื่องของตัวเอง วัฒนธรรมของตนเองและสิ่งที่บรรพชนมอบให้ เท่ากับว่า ความเจริญที่เกิดขึ้นมานั้นจะไม่มั่นคงและถาวร
|
(2) เรื่องปีใหม่่ ปีเก่าผ่านไป ปีใหม่มา พลั้งเผลอกระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดพลาด จงเริ่มต้นเสียใหม่โดยไม่ชักช้า มิมีสิ่งใดสายเกินกาล หากมิใช่ความชั่ว คนเราต้องทำผิดบ้าง ความผิดกับความชั่วไม่เหมือนกัน
|
(3)เรื่องการติชมรางวัลสูงสุดอยู่ที่ค้นความชั่วไม่พบในตัวเราเอง การติ การชม เป็นเรื่องของคนอื่น เพราะเขา รู้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง จะไปยุ่งด้วยทำไม บาปบุญเป็นของเขาของเราเท่านั้น
|
(4) เรื่องวาสนา อำนาจวาสนาเป็นสิ่งที่มอบให้แก่กันไม่ได้ แต่จะต้องสร้างขึ้นโดยตนเองเท่านั้น อำนาจจะได้มาก็ด้วยความขยันขันแข็ง หมั่นขวนขวายหาวิชาความรู้ มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความเมตตากรุณา
|
(5) เรื่องความรับผิดชอบ การเลือกใช้คนให้เหมาะแก่ตำแหน่ง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เป็นนายคน การที่จะรู้ว่าถูกหรือผิดนั้น จะต้องขยันเอาใจใส่ดูอยู่เสมอว่า ผลงานที่เขาทำนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเขาทำได้ดี ต้องยอมให้ว่าเป็นความดีของเขาเอง เราจะรับไว้แต่เพียงว่าเลือกคนถูก แต่ถ้าเขาทำผิด เราต้องรับเสียเองว่า เพราะเราเลือกเขา ๆ จึงมีโอกาสทำผิด ทั้งนี้เพราะอำนาจอยู่ที่ไหน ความรับผิดชอบต้องอยู่ที่นั่นด้วย
|
(6) เรื่องเพื่อน มิตรแท้กับมิตรไม่แท้ต่างกันตรงว่า เราจริงใจต่อใครคนนั้นมาก เราเกรงใจเขามากยิ่งขึ้นตาม เก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดี แล้วอาจพบกันอีกก่อนตายจาก ส่วนมิตรอีกแบบหนึ่ง เพียงเจอไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอแล้ว
|
(7) เรื่องกฎหมาย ดำรงตนให้ศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงกฎหมาย แม้ยิ่งกว่า เพื่อนำชาติสู่ความไพบูลย์รุ่งเรือง ถวายแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
|
(8) เรื่องผู้รับงานใหม่ เรียกผู้ใดมาสั่งงานจะให้ไปรับตำแหน่งใหม่ ผู้นั้นตอบว่าได้โดยเร็ว และอ้ายโน่นก็ทำได้ อ้ายนี่ก็ง่ายละก็ เตรียมหาคนใหม่ไว้ได้ หากแต่คนใดหนักใจ ซักถามถี่ถ้วน เห็นความยากลำบาก เรานอนตาหลับได้
|
(9) เรื่องชีวิตชาติ จงมองชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องช่วยพิทักษ์รักษา อุ้มชู และเสริมเกียรติยศ อย่ามองอะไรเพียงผ่านไปที เพราะแผ่นดินนี้จะต้องดำรงอยู่ยาวไกล อีกหลายชั่วคนจากเราไป
|
(10) เรื่องระเบียบเยาวชน ในชีวิตหนึ่งนี้ เยาวชนจะใช้เวลาอยู่กับบ้านและโรงเรียนมากที่สุด ต้องหมั่นขวนขวาย ศึกษา เล่นกีฬา และใฝ่คุณธรรมเป็นเพื่อนแท้ บุพการีต้องร่วมกับครูอาจารย์ในการพิทักษ์รักษาลูกหลาน และลูกหลานนั่นเองที่ต้องทดแทนพระคุณบุพการีชน ด้วยการดำรงตนเป็นคนดีของชาติบ้านเมือง ถวายในหลวงของเรา
|
(11) เรื่องเด็กดีของฉัน เด็กดีของฉันนั่นหรือ เขาคงไม่ต้องเป็นตำราเคลื่อนที่ หรือเรียนเก่งไปเสียทุกอย่าง แต่กลับมองเหยียดหยามบุคคลอื่นนั้น คงไม่ใช่ ฉันขอเพียงเป็นคนสัตย์ซื่อ จริงใจ มีความกตัญญูรู้คุณคนและผืนแผ่นดินแม่ แต่อาจเรียนปานกลาง ประการหลังนี้หาใช่น่าอับอาย เพราะหากฉลาดเฉลียวแต่เที่ยวไปหลอกลวงผู้อื่นอย่างขาดคุณธรรมจรรยา นี่มิใช่หรือ คือ โจรตัวจริง
|
(12) เรื่องเด็ก ชาติบ้านเมืองนั้นต้องดำรงอยู่อีกหลายชั่วชีวิตคน เด็กทุกคนจะเจริญเติบใหญ่เป็นคนดีของในหลวง และเด็ก ๆ ทุกคนเหล่านี้จะมีแต่ผู้คนรักใคร่เอ็นดูตลอดไป
|
(13) เรื่องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จะพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองได้ ต้องเริ่มจากให้คนไทยรักชาติเป็นเสียก่อน มีความจริงใจให้กันอีกทั้งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ถ้าไม่รู้ว่าตนเองเป็นใครแล้วจะรักชาติเป็นได้อย่างไรกัน
|
(14) เรื่องคุณค่าชีวิต ขอให้เข้าใจว่า ชีวิตมนุษย์จะเป็นชีวิตของ ผู้ใดก็ตาม ชาติใดภาษาใดก็ตาม เป็นของมีราคาเสมือนชีวิตของตนเอง ธรรมะในศาสนาก็ดี กฎหมายบ้านเมืองก็ดี ย่อมถือเอาความข้อนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือ ต้องระวังชีวิตมนุษย์ อย่าให้เสียไปโดยใช่เหตุ
|
(15) เรื่องอารมณ์ หน้าบูดบึ้งเมื่อไร รีบดูหน้าตนเองที่กระจก จะสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นสิริหน้า แล้วจะทำอะไรได้ในวันนั้น เมื่ออารมณ์เราเป็นเสียเช่นนี้
|
(16) เรื่องเอกลักษณ์คนไทย คือ ความนอบน้อมถ่อมตน ที่จะยิ่งทำให้ตนเองสูงในสายตาผู้อื่น นอกจากคนโง่เขลาเท่านั้นที่ดูไม่ออก
|
(17) เรื่องพูด ทำให้มากกว่าพูด คือ พูดให้น้อยกว่าทำ สุขุม มีสติ ไม่ขี้โอ่ขี้คุยในภูมิปัญญา แล้วจะดีเอง
|
(18) เรื่องเวลา ผู้ใดไม่ถือเวลาเป็นสำคัญ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีหลัก เชื่อถือไม่ได้เพราะโลเล
|
(19) เรื่องการปกครอง ความมุ่งหมายของการปกครองทั้งอย่างเก่าอย่างใหม่ คือ ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกัน แต่ให้เข้าใจอธิบายคำที่ว่า อยู่เย็นเป็นสุขนั้น ผิดกับอย่างเก่าถือว่า ถ้าบ้านเมืองปราศจากภัยต่าง ๆ เช่น โจรผู้ร้าย เป็นต้น ก็เป็นสุข แต่ความคิดที่ว่าจะให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ต้องจัดการทำนุบำรุงในเวลาบ้านเมืองเป็นปกติด้วย เป็นคติที่เกิดขึ้นใหม่
่
|
(20) เรื่องคนสมุทรสาคร ชาวสมุทรสาครต้องภาคภูมิใจในชื่อของจังหวัด อันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทานมาจากในหลวง เมืองแห่งทะเลซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากแม่น้ำอันอุดมบริบูรณ์ เมืองคนดี คนกล้า และมีความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน
|
(21) เรื่องเมืองปทุม คุณความดีของคน คือ แสนยานุภาพในการสร้างชาติบ้านเมือง ปทุมธานี เมืองบัวหลวงของในหลวง
|
(22) เรื่องรัฐธรรมนูญ ลูกชายใหญ่ ฝนกำลังโปรยลงมาจากฟ้า พระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ต้องเร่งสำรวจทะเบียนราษฎร์เป็นสุดท้าย มิให้บกพร่องได้ และให้ทางการสร้างคูหาเลือกตั้ง เราจะมี พาเลียเมนท์กัน ( ทรงตรัสกับ ม.จ.จุลดิศ ดิศกุล พระโอรสองค์ใหญ่ เมื่อ 6 เมษายน 2475 )
|
(23) เรื่องข้าราชการ ข้าราชการมิใช่อภิสิทธิ์ชน หากแต่จะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นแบบอย่างของคนดีแก่สังคม
|
(24) เรื่องความสุขของพ่อ ที่แลเห็นลูกหลานเป็นพลเมืองดี มีความรู้ มีสัมมาอาชีพสุจริต ลูกชายได้บวชและผ่านชีวิตทหารที่เสริมสร้างบุรุษ เป็นลูกสาวต้องคำนึงถึงมารยาทไทย ไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่สูบบุหรี่ และรู้ซึ้งถึงหัวใจของผู้เป็นแม่ กล่าวคือ ต้องรักและสงสารแม่ให้จงมาก
|
(25) เรื่องชาติ
ความเป็นญาตินั้นยิ่งใหญ่ แต่ความเป็นไทยนี้ยิ่งกว่า
|
(26)
...ความรู้เห็นทั้งปวงอันได้มาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการทั้งนั้น ธรรมดาผู้ที่ได้เป็นรัฐบุรุษของบ้านเมืองถึงจะออกจาก ตำแหน่งหน้าที่ไปแล้ว ก็ไม่สามารถปลดเปลื้องความรับผิดชอบ ในหนหลังให้ขาดได้ทีเดียว เปรียบว่าถ้าคนธรรมดา เช่น หม่อมฉันทำความลำบากให้แก่คน ภายหลังหม่อมฉันก็ต้องรับทุกข์นั้นต่อไปไม่มีสิ้นสุด...
(สาสน์โต้ตอบสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙)
หม่อมฉัน (คือรับสั่งของสมเด็จฯ ต่อเจ้านายพระองค์หนึ่ง)
|
(27)
...ขอให้เข้าใจว่า ชีวิตมนุษย์จะเป็นชีวิตของผู้ใดก็ตาม จะเป็นชาติใดก็ตาม ภาษาใดก็ตามที ล้วนเป็นของ มีราคา เสมือนชีวิตของตนเอง ธรรมะในศาสนาก็ดี กฎหมายบ้านเมืองก็ดี ย่อมถือเอาความข้อนี้เป็นอย่างเดียวก็คือ ต้องระวังชีวิตมนุษย์อย่าให้เสียไปด้วยใช่เหตุ การปกครองทุกวันนี้ ก็ผิดกับแต่ก่อนอยู่ ความสำเร็จ ในสิ่งทั้งปวงอยู่ที่ปัจจัยเรื่องเงิน คือ เงินเป็นใหญ่ กระทั่งทำให้ผู้คนเห็นแก่ตัว เช่น รัฐบาลก็ต้องการเงิน ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า อยู่นั้น ไม่มีประโยชน์อันใด เมื่อมีผู้ทำเรือกสวนไร่นาขึ้น ภาษีอากรเฉพาะที่ดินก็ได้ภาษี ขาออกก็ได้ และยังมีภาษี จากแรงงาน...
|
(28)
...บ้านที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิต คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากกว่าแห่งอื่นๆ ดังนั้นเราจึง ควรจะสามารถเอาใจใส่ดูแลบ้าน เพิ่มพูนความเป็นสิริมงคลให้บังเกิดเป็นนิจได้ บ้านและครอบครัวนั้น ๆ ก็จะถึงซึ่งความสุขความเจริญ อันเป็นสิ่งพึงปรารถนาของคนเรา คนดีจะบำเพ็ญ ประโยชน์ให้กับผู้อื่นตลอดจนชาติบ้านเมืองของตนได้ ต้องมีความสามารถจัดการบ้านเรือนของตัวเองให้เรียบร้อยได้เสียก่อนไม่รก เป็นรังหนู...
|
(29)
...เจ้าคุณอำนาจอยู่ที่ราษฎรเชื่อถือ ไม่ใช่อยู่ที่พระแสงราชศัสตรา จะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าเจ้าคุณทำให้ราษฎรเชื่อถือด้วยความศรัทธาแล้ว ไม่มีใครถอดเจ้าคุณได้แม้ในหลวง เพราะท่านก็ทรงปรารถนาให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขเช่นเดียวกัน...
|
(30)
...ที่จะรู้ได้ว่า ที่ใดเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อยนั้น ไม่มีอะไรดียิ่งกว่าฟังเสียงราษฎร ถ้าราษฎรมีเสียงเดือดร้อนอยู่แล้ว ถึงแม้การออฟฟิศจะเรียบร้อยหรือการอย่างอื่นจะดีก็ไม่เชื่อว่าเรียบร้อย...
|
(31)
...การเป็นผู้นำนั้น ต้องให้รองเท้าขาดก่อนกางเกง คือ ต้องออกตรวจตราจนรองเท้าขาด ไม่ใช่นั่งเก้าอี้จนกางเกงขาด เพราะหลักโบราณก็มีอยู่ว่า จงคิด จงสั่ง จงตรวจ...
|
(32)
...รางวัลสูงสุดอยู่ที่ค้นความชั่วไม่พบในตัวเราเอง การติการชมเป็นเรื่องของคนอื่น เขารู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง จะไปยุ่งด้วยทำไม บาปบุญเป็นของเขาเอง... (คติธรรมในเวลามีทุกข์)
|
(33)
...อย่ามีพวก เพราะถ้ามีพวกเรา จะต้องมีพวกเขาเกิดขึ้นและมากกว่าเสมอด้วย...
่
|
(34)
...จงอย่าถือตัวเป็นพวกคนนั้น พวกคนนี้ เพราะเมื่อปรากฏพวกฝ่ายเรา ก็ย่อมจะปรากฏพวกฝ่ายเขา เพียรบำเพ็ญความดี ด้วยทั้งเราหรือเขานั่น ที่ต่างล้วนเป็นข้าพระบาทของในหลวง...
|
(35)
...บ้านเป็นที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชีวิต คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากกว่าแห่งอื่น ๆ ดังนี้ เราจึงควรจะสามารถเอาใจใส่ดูแลบ้าน เพิ่มพูนความเป็นสิริมงคลให้บังเกิดเป็นนิจได้ บ้านและครอบครัวนั้น ๆ ก็จะถึงซึ่งความสุขความเจริญ อันเป็นสิ่งพึงปรารถนาของคนเรา คนดีจะบำเพ็ญประโยชน์ให้กับผู้อื่นตลอดจนชาติบ้านเมืองของตนได้ ต้องมีความสามารถจัดการบ้านเรือนของตัวเองให้เรียบร้อยได้เสียก่อน...
|
(36)
...ในหลวงทรงตรัสสอนปู่เสมอว่า "นักปกครองนั้น ความจริงใจสำคัญสูงสุด คือ ไม่หลอกลวง แต่ความโอ้อวดเช้าเย็นและคอยแต่วัดรอยเท้าผู้ใหญ่ ถึงขั้นยกตนเหนือกว่า ถือเป็นนักปกครองชั้นเลว"...
เสด็จในกรมประทานสอนแก่หลานชายใหญ่สืบตระกูล
(ม.ร.ว. สังขดิศ ดิศกุล) เมื่อแรกเริ่มเข้ารับราชการ
|
(37)
...คนเราต้องทำผิดบ้าง ความผิดกับความชั่วไม่เหมือนกัน แต่ความผิดจักต้องเป็นอุทาหรณ์สอนใจ...
|